วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การสร้างบทความใหม่

การสร้างบทความใหม่


1.หลังจากล็อกอินเข้าสู่ระบบ ผู้ใช้จะสามารถเลือกสร้างบทความใหม่โดยเลือกเมนู ‘บทความใหม่’

2.ระบบจะเข้าสู่หน้าจัดการบทความ ผู้ใช้สามารถสร้างบทความ โดยใช้เครื่องมือจัดการบทความที่ระบบมีไว้ให้
3.เมื่อผู้ใช้เขียนบทความเสร็จ คลิก ‘เพิ่มบทความใหม่’ เพื่อเพิ่มบทความเข้าสู่ระบบ
4.เมื่อผู้ใช้เพิ่มบทความใหม่แล้ว ระบบจะแสดงหน้าบทความรวมเป็นอันเสร็จสิ้นการเพิ่มบทความ
5.บทความที่เพิ่มใหม่จะแสดงในหน้าแรก blogger

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ทัชมาฮาล

สถานที่ที่หน้าสนใจ
ทัชมาฮาล (Taj Mahal)

ทัชมาฮาล เป็นสุสานหินอ่อนขนาดใหญ่ที่สวยงามสมบูรณ์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมนา เมืองอักรา ประเทศอินเดีย ทัชมาฮาลสร้างขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อประมาณค.ศ. 1630 - 1652 ใช้เวลาก่อสร้าง 17 ปี ใช้เวลาตกแต่ง 5 ปี รวมเวลาทั้งหมด 22 ปี ใข้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 30 ล้านรูปี โดยพระเจ้าชาห์ เจฮัล กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุล เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่มีต่อพระมเหสีมุมตัส สุสานทัชมาฮาลสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวเป็นรูปโดมตามแบบสถาปัตยกรรมเปอร์เซียสูง 61 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมที่มีความกว้างด้านละ 95 เมตรหนา 5 เมตร มีหอคอยยอดแหลมสูง 95 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมของฐานประจำ 4 ทิศ ใช้คนงานในการสร้างประมาณ 22,000 คนควบคุมการสร้างโดย อัสตาด ไอซา สถาปนิกในสมัยนั้น
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่

http://th.upload.sanook.com/A0/914f7c128e837d8f711658262d4a3a09

สามารถดาวน์โหลดแผนที่ได้ที่นี่

http://maps.google.com/maps?f=q&source=s_q&hl=en&geocode=&q=%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A5++%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2&sll=51.501243,0.12527&sspn=0.002985,0.006866&layer=t&ie=UTF8&ll=27.174789,78.042755&spn=0.004266,0.006866&t=k&z=17

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ที่มาของภาวะโลกร้อน


ที่มาของภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน


ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยประเมินไว้ว่า มีสิ่งชี้ชัดในเรื่องความเป็นไปได้ของภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และอุทกภัยที่ถี่ขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตร โดย ระดับการรุกของน้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาถึง 40 กิโลเมตร ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความสมดุลของน้ำจืดและน้ำเค็มในพื้นที่ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งและอุทกภัย ที่จะก่อความเสียหายกับระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมา
ส่วนพื้นที่ชายฝั่งจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อพื้นที่ชายฝั่งแตกต่างกันไปเป็นกรณี เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ชายฝั่งหลายแบบ เช่น พื้นที่ชายฝั่งที่เป็นหน้าผา อาจจะมีการยุบตัวเกิดขึ้นกับหินที่ไม่แข็งตัวพอ แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนชายหาดจากเพชรบุรีถึงสงขลาซึ่งมีลักษณะชายฝั่งที่แคบจะหายไป และชายหาดจะถูกร่นเข้ามาถึงพื้นที่ราบริมทะเล
ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เช่น ภาวะน้ำท่วม และคลื่นร้อน ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้นประมาณ 50-80 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในเขตศูนย์สูตรและเขตร้อน เช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะกระทบกระบวนการผลิตอาหาร สุขอนามัยและก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมา สิ่งเหล่านี้ก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น โรคท้องร่วง โรคขาดอาหาร โรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะลดปริมาณน้ำสำรอง และเพิ่มปริมาณจุลชีพเล็กๆ ในอาหารและน้ำ ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอาหารเป็นพิษ

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง โดยจะเกิดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนรุนแรงมากที่สุด เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวน และจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อปริมาณอาหารสำรอง และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นหลัก ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเช่นเดียวกัน
ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตรในประเทศไทยสัมพันธ์กับปริมาณน้ำ ในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิเฉลี่ยที่พอเหมาะด้วย

สำหรับประเทศไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตรจะไม่รุนแรงมาก เพราะพื้นที่ชลประทานจะได้รับการป้องกัน แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอาจจะรุนแรงในบริเวณที่ขาดน้ำอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ผลกระทบยังอาจเกิดขึ้นกับการทำประมง เนื่องจาก แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี เช่น แม่น้ำสายเล็กๆ ทะเลสาบ และห้วยหนองคลองบึง อาจแห้งขอดลงในบางฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้จำนวนและความหลากหลายของชนิดของสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำแถบลุ่มแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป

โลกร้อนแก้ไขได้! ด้วย 10 วิธีง่ายๆ

โลกร้อนแก้ไขได้! ด้วย 10 วิธีง่ายๆ
1. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หลังเลิกใช้
เหตุผล : ช่วยประหยัดไฟ และทำให้เราไม่ต้องสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันถ่านหินคือตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนมากเป็นอันดับ 1
ผลที่ได้รับ : ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้หลายร้อยกิโลกรัมต่อปี และที่สำคัญคือต้องถอดปลั๊กไฟออกด้วยทุกครั้ง จะทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายได้ถึง 4,000 บาทต่อปี
2. เปลี่ยนหลอดไส้ เป็นหลอดตะเกียบ
เหตุผล : จะทำให้เราไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันถ่านหินคือตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนมากเป็นอันดับหนึ่ง
ผลที่ได้รับ : การเปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดไฟ จะช่วยประหยัดไฟได้ 3-5 เท่า และยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดธรรมดาถึง 10 เท่า เท่ากับลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 80 และประหยัดเงินได้ 738 บาทต่อปี ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 295 กิโลกรัมต่อปี
3. ตั้งอุณหภูมิแอร์ที่ 25 องศา
เหตุผล : เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ซึ่งจะทำให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ผลที่ได้รับ : ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 900 กิโลกรัมต่อปี และยังประหยัดพลังงานได้ 2.4 หน่วย
4. ลดใช้เครื่องทำน้ำร้อน
เหตุผล : เครื่องทำน้ำร้อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมาก
ผลที่ได้รับ : ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 300 กิโลกรัมต่อปี
5. ติดฉนวนกันความร้อนในบ้าน
เหตุผล : เพราะการติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก และช่วยประหยัดพลังงาน
ผลที่ได้รับ : จะช่วยประหยัดพลังงานในบ้านได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
6. ปลูกต้นไม้ยืนต้น
เหตุผล : ต้นไม้ 1 ต้น ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของต้นไม้
7. เพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
เหตุผล : เพราะในการผลิตกระดาษหรือพลาสติกแบบรีไซเคิล ใช้พลังงานในการผลิตเพียง 50 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้รับ : การใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจะช่วยลดปริมาณขยะได้ถึงปีละ 1,450 ตัน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ 1 ตันต่อปี
8. เลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัวคนเดียว
เหตุผล : เพราะน้ำมัน คือแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์ที่สำคัญ โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40
ทางแก้ไข : ควรจัดระบบ car pool รวมทั้งหันมาใช้จักรยาน รถขนส่งมวลชน หรือเดินให้มากขึ้น เพราะจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 1,000 ตันต่อวัน (ต่อปริมาณรถในกทม. 5.5 ล้านคัน) นอกจากนี้รถขนส่งมวลชนยังมีประสิทธิภาพทางพลังงานมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวถึง 3 เท่า และยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 8 เท่าอีกด้วย
9. เลือกซื้อของที่ผลิตในประเทศ
เหตุผล : เพราะการซื้อสินค้าต่างประเทศต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่งบรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่าย
ผลที่ได้รับ : การใช้ของที่ผลิตในประเทศจะช่วยลดค่าหีบห่อและค่าขนส่ง ทำให้สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่จะเกิดขึ้น และเงินตราไม่รั่วไหลอีกด้วย
10. กินผักแทนเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น
เหตุผล : การทำปศุสัตว์คือแหล่งที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ไม่ว่าจะเป็นการแผ้วทางพื้นที่ป่าเพื่อทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือ การขับถ่ายของเสียจากสัตว์ ล้วนทำให้เกิดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ถึง 18 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้รับ : ถ้าเราลดการผลิตเนื้อสัตว์ทุกๆ 1 กิโลกรัม จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับคาร์บอนไดออกไซค์ ได้ 3-4 กิโลกรัม

ถ้าหากโลกร้อนขึ้นถึง 6 องศาจะเป็นอย่างไรบ้าง

เริ่มจาก 1 องศาเซลเซียส
- มหาสมุทรอาร์กติกจะปราศจากน้ำแข็งเป็นเวลา 6 เดือน
- กระแสน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้หลายพันครัวเรือนบริเวณอ่าวเบงกอลจมอยู่ใต้น้ำ
- พายุเฮอริเคนอาจเข้าโจมตีมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้
- เกิดความแห้งแล้งอย่างรุนแรงทางภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ตลาดขาดแคลนข้าวและเนื้อสัตว์
- พื้นที่ด้านฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนเป็นทะเลทราย
- วิถีเกษตรกรรมในอังกฤษจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ไร่องุ่นกว่า 400 แห่ง แหล่งผลิตไวน์รสเลิศจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น

2 องศาเซลเซียส
- ธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์จะค่อยๆ ละลายหายไป "จาคอบชวาน"ธารน้ำแข็งใหญ่ที่สุดของกรีนแลนด์กลายเป็นธารน้ำแข็งที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดในโลก
- เมื่อน้ำแข็งในทะเลลดน้อยลง หมีขั้วโลกเหนือจะตกอยู่ในสภาวะอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
- แมลงอาจอพยพไปพื้นที่ใหม่ๆ เช่น ด้วงสนอาจทำลายป่าไม้ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา
- ขั้วโลกเหนือของประเทศแคนาดา บริเวณพื้นราบจะมีป่าไม้จากเดิมที่ไม่เคยมีมาก่อน
- ประเทศตูวาลูในหมู่เกาะแปซิฟิก อาจจมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
- ระบบนิเวศทางทะเลจะเกิดผลกระทบ ทำให้ปะการังเขตร้อนตาย

3 องศาเซลเซียส
- ป่าอะเมซอนจะแห้งเหือดและเกิดไฟป่าซ้ำซาก ทำให้ผืนป่าอะเมซอนเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการโลกร้อนหลายร้อนตันขึ้นสู่บรรยากาศโลก
- ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ละลายจนหมดสิ้น
- ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในฝั่งทวีปยุโรปจะแห้งเหือดในฤดูร้อน
- ปรากฏการณ์แอลนีโญ่จะทวีความรุนแรง เกิดสภาวะอากาศวิปริตแปรปรวน
- พายุเฮอริเคนจะทวีความรุนแรงเป็นระดับ 6 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าจะเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์

4 องศาเซลเซียส
- แผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติกตะวันตก อาจละลายและจมหายไปในทะเล ส่งผลให้ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น เกิดปัญหาน้ำท่วมรุนแรงบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้ประเทศต่างๆ ได้รับความเสียหาย เช่น บังกลาเทศ และอียิปต์ ส่วนเมืองเวนิชทั้งเมืองจมอยู่ใต้บาดาล
- แม่น้ำคงคาในประเทศจีน เนปาลและอินเดีย จะเอท่วมล้นครั้งยิ่งใหญ่และผลพวงการละลายของธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยที่คาดว่าจะละลายหมดในปี 2578 จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัยตามมา
- ประเทศแคนาดาทางตอนเหนือจะกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

5 องศาเซลเซียส
- แผ่นดินที่เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ทางตอนเหนือและใต้ของโลกจะกลายเป็นเขตอบอุ่นและกลายเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอนาคต
- มหานครของโลก เช่น ลอสแองเจลิส กรุงไคโร ลิมาและบอมเบย์ ที่เคยปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งบางช่วงเวลา จะไม่มีหิมะตกอีกต่อไป
- ผู้คนหลายสิบล้านคนจะกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัย อันเนื่องมาจากสภาพอากาศและความขัดแย้ง อันเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ

และ 6 องศาเซลเซียส
- โลกของเราจะมีสภาพคล้ายคลึงกับยุคครีเตเชียส ซึ่งโลกมีอุณหภูมิสูงมาก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 65 - 144 ล้านปีก่อน
- น้ำทะเลมีสีฟ้าใส เพราะไม่หลงเหลือวงจรห่วงโซ่อาหาร และสารอาหารในทะเลอีกแล้ว
- ทะเลทรายจะยึดครองพื้นที่ในทวีปต่างๆ ทั่วโลก
- ภัยพิบัติทางธรรมชาติกลายเป็นเรื่องปกติ เมืองใหญ่ๆ เกิดภาวะอุทกภัยจนผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน

โลกสวย..ด้วยมือเรา โลกร้อนแก้ไขได้